10127 จำนวนผู้เข้าชม |
ลักษณะ
นกยูงอินเดียที่ถูกนำมาเพาะเลี้ยงในกรง จะมีรูปร่างผิดแผกไปจากนกยูงในธรรมชาติบ้าง
คือขาจะสั้นลงและลำตัวจะเทอะทะขึ้น นกยูงชนิดนี้ไม่มี ชนิดย่อย แต่จากการเพาะเลี้ยงมาเป็นเวลานาน
กว่าร้อยปีในยุโรป ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านพันธุกรรม ที่เรียกว่าการผ่าเหล่า (mutation)
และเป็นการเปลี่ยนแปลงแบบถาวร พวกผ่าเหล่ามีอยู่ 3 ชนิด
1. นกยูงขาว (White Peafowl)
ชื่อวิทยาศาสตร์ p.c. mut. albino มีสีขาวตลอดตัว
2. นกยูงด่างหรือแฟนซี (Pied Peafowl)
มีสีปนกันระหว่างนกยูงธรรมดาและนกยูงขาว
3. นกยูงปีกดำ (Black-Winged Peafowl)
ชื่อวิทยาศาสตร์ p.c. mut. nigripennis
ปีกมีสีเข้มกว่าพันธุ์ธรรมดา และสวยกว่าพันธุ์ธรรมดามาก
ถิ่นอาศัย
มีถิ่นกำเนิดในประเทศศรีลังกา และประเทศอินเดีย ซึ่งมีไปทางเหนือถึง ประเทศปากีสถาน
บริเวณเทือกเขาหิมาลัยและหุบเขาพรหมบุตร อยู่ตามป่าตั้งแต่ระดับนํ้าทะเล
จนถึงระดับความสูง 3,000 ฟุต ชอบหากินตามที่โล่ง ชาวฮินดูนับถือ นกยูงนี้ว่าเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์
จึงไม่มีการล่าทำให้มันค่อนข้างเชื่อง จนกล้าหากินใกล้ไร่นาและบ้านคน
ตัวผู้จะคุมฝูงตัวเมีย 2-5 ตัว บินเก่งและร้องเสียงดังมาก
การขยายพันธุ์
ในฤดูผสมพันธุ์ ตัวผู้จะรำแพนโดยแผ่ขนหางออกเป็นวงกลม เพื่อล่อให้ตัวเมียสนใจ
ตัวเมียจะทำรังบนพื้นดินและวางไข่ 4-8 ฟอง ใช้เวลาฟักไข่ 27-29 วัน
ตัวผู้จะมีขนสวยสมบูรณ์เมื่ออายุ 3 ปี ปกติจะไม่ดุเหมือนนกยูงไทย